ปัญหาการใช้พละกำลังความรุนแรงต่อผู้หญิง และ เพศที่ 3 เป็นปัญหาที่ไม่มีใครอยากให้เกิด แม้กระทั่งในประเทศที่เจริญแล้วอย่างประเทศอังกฤษก็ตาม โดยในกรุง London เมืองหลวงของประเทศอังกฤษเองก็มีองค์กรที่คอยช่วยเหลือเหล่าผู้หญิง และ เพศที่3 ที่ถูกกระทำความรุนแรง อย่างเช่น
องค์กร Solace Women’s Aid
Solace Women’s Aid เป็นองค์กรการกุศล มีเครือข่ายอยู่ทั่วกรุงลอนดอน โดยให้ความช่วยเหลือผู้หญิง รวมทั้ง เด็กๆกว่า 11,000 รอดชีวิตจากความรุนแรงของครอบครัวในแต่ล่ะปี มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยทาง Solace Women’s Aid ได้กล่าวว่า…
ความรุนแรงในครอบครัว เกิดขึ้นเมื่อคู่ครองของคุณ หรือ สมาชิกภายในครอบครัว ละเมิดสิทธิมนุษยชนของสมาชิกในครอบครัวด้วยกันเอง ไม่ว่าจะเป็นทั้ง ทางด้านอารมณ์ , ทางด้านร่างกาย , ทางเพศ แม้กระทั่งทางด้านการเงินก็ตามมันอาจจะเป็นเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียว หรือ เกิดซ้ำๆ แต่ถ้าคุณรู้สึกว่ากำลังถูกข่มขู่ รู้สึกตกใจ คุณกำลังประสบกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัว
ความรุนแรงทางเพศ การทารุณกรรมทางเพศเด็ก รวมถึงการบังคับขายตัว เมื่อใดก็ตามหากมันเกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำหรือเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียว มันก็เป็นเรื่องยอมรับไม่ได้
องค์กร Solace Women’s Aid มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ นายกเทศมนตรีได้จัดลำดับความสำคัญของปัญหาความรุนแรงของผู้หญิงและเด็กๆในกรุงลอนดอน โดยมีระดับน่าตกใจของการก่ออาชญากรรม คือ 95,000 รายในปี 2016
กว่า 74,000 คดี ซึ่งเป็นอาชญากรรมในประเทศ เป็นคดีข่มขืน 6,000 คดี ความผิดทางเพศอื่น ๆอีก 11,000 คดี ดคีเหล่านี้ได้ถูกบันทึกโดยตำรวจในกรุงลอนดอนในปี 2016 ส่วนแผนการใหม่ของนายกนายกเทศมนตรี คือ สั่งการให้ตำรวจ มีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อสู้กับความรุนแรงในครอบครัวในกรุงลอนดอน นอกจากนี้ ยังดำเนินการระดมทุน เพื่อช่วยเหลือคนที่ถูกข่มขืนอีกด้วย
ส่วนเพศที่3 หรือ กลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นเหยื่อของปัญหาความรุนแรงอย่างบ่อยครั้งเช่นเดียวกัน ซึ่งในกรุงลอนดอนเองก็มีองค์กรช่วยเหลืออย่างองค์กร Galop
Galop เป็นองค์กรการกุศลต่อต้านการทารุณกรรมกลุ่มบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ
โดยทางองค์กรได้กล่าวว่า หากคุณเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความเกลียดชัง ปัญหาอาชญากรรม ความรุนแรงทางเพศ หรือ การล่วงละเมิดในครอบครัว เราก็พร้อมช่วยเหลือคุณ นอกจากนี้เรายังสนับสนุน เกย์ เลสเบี้ยน รวมทั้งผู้มีความหลากหลายทางเพศ อื่นๆ นอกจากนี้หากคุณมีข้อสงสัยเกี่ยวกับระบบยุติธรรมทางอาญาในเรื่องของเพศ เราก็สามารถตอบคำถามได้เช่นเดียวกัน รวมถึงให้คำแนะนำและให้การสนับสนุนแก่ผู้มีประสบการณ์ในการเป็นโรคเอดส์, โรคหวั่นเกรง, โรคซึมเศร้า อีกด้วย
ปัญหาความรุนแรงนั้นเป็นเรื่องโหดร้าย แต่สิ่งแรกเมื่อเราตกอยู่ภายใต้สถานการณ์นั้น เราต้องคิดอยู่เสมอว่า เราไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ข้างนอกยังมีคนที่พร้อมจะรับฟังปัญหา พร้อมทั้งยื่นมือช่วยเหลือเราอยู่อีกมากมาย